มอก.เป็นคำย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและ จัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายใน มอก.แต่ละเล่มประกอบด้วย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น
เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สมอ. กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นไว้ ซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลักประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่าและเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร, วัสดุก่อสร้าง, วัสดุสำนักงาน, เครื่องใชไฟฟ้า เป็นต้น
เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมาย
กำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิตผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้าและจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์จะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ, สายไฟฟ้า, บัลลาสต์, ผงซักฟอก, เครื่องนวดหน้า, ลำโพง, โคมไฟ, ท่อพีวีซี, ผลิตภัณฑ์เหล็ก, ถังดับเพลิง, เครื่องใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับผม, ของเล่นเด็ก, หมวกกันน๊อค เป็นต้น
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
2. ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน
3. ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
4. ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
5. เพิ่มยอดขาย เพราะมีหลักประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์
6. เพิ่มโอกาสทางการค้า ในการขายให้แก่หน่วยงานราชการ ตามระเบียบ ฯ
1. ช่วยประหยัดเวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะมีคุณภาพมาตรฐาน
3. มีความปลอดภัยในการนำมาใช้
4. ในกรณีชำรุด สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะมีมาตรฐานเดียวกันใช้ทดแทนกันได้
5. ราคาเป็นธรรม คุ้มค่ากับการใช้งาน
1. ขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าจากกระทรวงอุตสาหกรรม
2. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรับรอง
3. จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ
4. เมื่อตัวอย่างผ่านการทดสอบ ให้จัดเตรียมการตรวจโรงงาน
5. เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจโรงงานเรียบร้อยแล้ว ทำการขอใบอนุญาติให้ทำการผลิตและใช้ตรา มอก. บนผลิตภัณฑ์
6. ใบอนุญาติการผลิตจะมีผลตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในเนื้อหามาตรฐานนั้นๆ และเจ้าหน้าที่ สมอ.
จะแจ้งให้ผู้ผลิตทราบล่วงหน้า
7. เจ้าหน้าที่ สมอ. จะมีการตรวจติดตามผลโรงงานผลิต เริ่มจากปีถัดไป ปีละครั้ง
8. ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าทดสอบผลิตภัณฑ์, ใบอนุญาติการผลิต, ค่าเดินทาง, ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก,
ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป
9. ผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในทางกฏหมายของสินค้านั้นๆ
ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินการในการรับจด มอก.
- ค่าทดสอบการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นไปตามที่หน่วยทดสอบกำหนด